สถิติ
เปิดเมื่อ10/10/2020
อัพเดท25/06/2021
ผู้เข้าชม9754
แสดงหน้า10062
บทความ
บทความทั่วไป
นักเทรด Bitcoin Options แห่เปิดสัญญาซื้อขายที่ราคา $80,000 สิ่งนี้หมายถึงอะไร
ตลาดทุนไหลออก
แนวโน้มหุ้นไทย (5 มี.ค.64) เปิดการซื้อขาย
ตลาดหุ้นเอเชียปิดเช้าผันผวน กังวลภาคบริการจีนขยายตัวต่ำสุดในรอบ 9 เดือน
‘เงินบาท’วันนี้เปิดตลาด ‘แข็งค่า’ที่29.98บาทต่อดอลลาร์
ยึดคืนหุ้น OR ขายผ่านแบงก์ทั้งหมด
STGT เริ่มเทรดพาร์ใหม่ 5 ม.ค.นี้
‘พ้นจุดต่ำสุด’ รับกำลังซื้อฟื้น
การเทรดฟอเร็กซ์
“บิทคอยน์” โอกาสบนความเสี่ยง!!
MiTrade รีวิว: MiTrade ดีไหม? เป็นโบรกเกอร์ Forex ที่น่าเชื่อถือหรือไม่?
ดอลลาร์อ่อนค่า หลังตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน พ.ย. ต่ำกว่าคาด
กองทุนหุ้นสหรัฐแจ่ม! “บลจ.ไทยพาณิชย์” จ่ายปันผล 2 กองรวด
ประเด็นข่าวต่างประเทศน่าติดตามวันนี้
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

กองทุนหุ้นสหรัฐแจ่ม! “บลจ.ไทยพาณิชย์” จ่ายปันผล 2 กองรวด

นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมจ่ายเงินปันผลกองทุนหุ้นต่างประเทศพร้อมกัน 2 กองทุน รวมมูลค่ากว่า 112 ล้านบาท ในวันที่ 28 ธ.ค. 2563 นี้ ประกอบด้วย กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นยูเอส (SCBS&P500) สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 ธ.ค. 2562 – วันที่ 30 พ.ย. 2563 ในอัตรา 0.6801 บาทต่อหน่วย

ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจ่ายปันผลระหว่างกาลเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2563 ไปแล้วจำนวน 0.3198 บาทต่อหน่วย เหลือจ่ายงวดนี้ 0.3603 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 15 รวมจ่ายปันผล 4.0311 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อ 18 ธ.ค. 2555)

และกองทุนเปิดไทยพาณิชย์ บิลเลียนแนร์ (SCBBLN) สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2563 – วันที่ 30 พ.ย. 2563 ในอัตรา 0.3768 บาทต่อหน่วย นับเป็นครั้งที่ 9 รวมจ่ายปันผล 2.1146 บาทต่อหน่วย (นับจากจัดตั้งกองทุนเมื่อ 24 ก.ค. 2558) โดยทั้ง 2 กองทุน จัดเป็นกองทุน 4 ดาว ประเภท Thailand Fund US Equity ของมอร์นิ่งสตาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2563)

สำหรับกองทุน SCBS&P 500 เน้นลงทุนในหน่วยลงทุน SPDR S&P 500 ETF Trust ที่บริหารจัดการโดย State Street Global Advisors ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบ passive มีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี S&P500 และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ส่วนกองทุน SCBBLN มีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นในประเทศสหรัฐฯ เป็นหลัก มีเป้าหมายที่จะสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Solactive US Top Billionaire Investors ซึ่งเป็นดัชนีที่สร้างขึ้นเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์เช่นเดียวกับนักลงทุนระดับมหาเศรษฐีในสหรัฐฯ จำนวน 30 ตัว

ปัจจุบันเน้นลงทุนใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่ม Software กลุ่ม Retailing และกลุ่ม Media ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เติบโตและกลับมาฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา โดยทั้ง 2 กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 16.08% และ 39.22% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ธ.ค. 2563)

นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวค่อนข้างผันผวนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามประชาชนออกนอกเคหะสถานเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก สร้างความกังวลให้นักลงทุนทั่วโลกจนเกิดการเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำอย่างรวดเร็วเพื่อถือครองเงินสด ทั้งยังส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับตัวลงอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนมีนาคม

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมาตลาดหุ้นได้ฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักมาจากนโยบายการเงินและการคลังที่ถูกประกาศใช้อย่างต่อเนื่องในหลายประเทศเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการประคับประคองเศรษฐกิจ อีกทั้งแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในหลายประเทศที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง

ซึ่งส่งผลให้มีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินได้ตามปกติ คลายความกังวลของนักลงทุนได้บางส่วน นอกจากนี้ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่ปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเริ่มกลับมาเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง

“สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในระยะถัดไปคาดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะยังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่องจาก 1) แนวโน้มเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา 2) อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นมีความน่าสนใจ 3) ความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว และ 4) ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่คาดว่าจะส่งผลให้ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ นโยบายการเงินและการคลังที่ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องจะเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการปรับตัวขึ้นของตลาด” นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และ Valuation ของตลาดหุ้นที่ค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับอดีตอาจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้ตลาดมีความผันผวนได้